‘คู่มือการใช้งานตู้อบเด็ก

คู่มือการใช้งานตู้อบเด็ก Sonicaid

คู่มือการใช้งาน Sonicaid

Power unit

                เป็นระบบที่ตรวจการแปรเปลี่ยนที่ละเอียดของอุณหภูมิผิวหนังโดยใช้ Probe ติดกับผิวหนังหน้าท้องของเด็ก และทำให้อุณหภูมิในตู้อบสูงพอที่จะรักษาอุณหภูมิผิวหนังเด็กและของตู้อบไว้อย่างละเอียด ฉะนั้นการที่อุณหภูมิของตู้อบลดต่ำก็เนื่องมาจากการที่เด็กมีไช้และจากสาเหตุอื่นๆ

 

ลำดับที่

รายการ

หน้าที่

1

Skin temperature display

แสดงอุณหภูมิของผิวหนังเป็นตัวเลข

2

Manual control indicator (AIR)

เมื่อมีไฟปรากฏที่ AIR แสดงว่ากำลังใช้ตู้อบโดยวิธี Manual control  mode

3

Servo control indicator (Skin)

เมื่อมีไฟปรากฏที่ SKIN แสดงว่าตู้อบกำลังใช้โดยวิธี Servo control mode

4

Set temperature display

แสดงเป็นตัวเลขทั้งการตั้งอุณหภูมิของผิวหนังโดยวิธี servo หรือตั้งอุณหภูมิของตู้อบโดยวิธี manual วิธีใช้แต่ละวิธีเลือกตั้งได้

5

Heater output indicator lamp

แสดงให้เห็น Heater output ใน 12 องศา เริ่มจาก 0 ถึง Full

6

Incubator temperature display

แสดงอุณหภูมิของตู้อบเป็นตัวเลข

7

Alarm indicator lamp

ไฟกระพริบ over –temperature , internal air circulation , ser temperature , internal sensor or skin temperature probe alarm

8

Alarm silence indicator lamp

มีแสงไฟเมื่อสัญญาณเสียงของ Set temperature ถูกยกเลิก (ไม่ใช้ชั่วคราว)

9

Power failure indicator lamp

มีแสงไฟเมื่อไฟฟ้าขัดข้อง ไฟฟ้าเสีย ปลั๊กไฟหลุด หรือเหตุอื่นๆ

10

Set switch

กดนาน 3 วินาที เพื่อเปลี่ยน set temperature และมีไฟวาบที่ SKIN/AIR อย่างใดอย่างหนึ่ง

 

ลำดับที่

รายการ

หน้าที่

11

Set temperature switch

กดขณะที่ SKIN/AIR อย่างใดอย่างหนึ่งมีแสงไฟวาบขึ้น เพื่อทำการตั้งอุณหภูมิที่ต้องการ

12

Alarm reset switch (Alarm silence switech)

กดภายหลังที่สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติเพื่อเป็นการตั้งสัญญาณเตือนใหม่ (reser alarm) กดเพื่อทำให้ set temperature alarm เงียบ Internal air circulation alarm function สามารถให้หยุดทำงานได้ประมาณ 15 นาที

13

SKIN /AIR change over switch

กดนาน 3 วินาที เพื่อจะเลือก SKINหรือ AIR อันใดอันหนึ่ง

 

AIR CIRCULATION SYSTEM

                ระบบการไหลเวียนอากาศของตู้อบ V-85 ออกแบบมาเพื่อให้เด็กอยู่ในบรรยากาศแวดล้อมที่เหมาะสม อากาศและออกซิเจนเข้าสู่ตู้อบโดยผ่านแผ่นกรองอากาศแล้วผสมกัน ผ่านตัวทำความร้อน อากาศที่ร้อนที่ถูกควบคุมอย่างถูกต้องแล้วจะไหลวนเวียนในตู้อบโดยอาศัยลม อากาศบางส่วนจะถูกทำให้มีความชื้นและถูกเป่าให้กระจายเหนือที่นอนภายในกระโจม

                อากาศภายในกระโจมมีความดันสูงกว่าอากาศภายนอกเล็กน้อย จะทำหน้าที่เป็นม่านกันอากาศภายในและภายนอกออกจากกัน เมื่อเวลาเปิดหน้าต่างตู้อบเป็นครั้งคราว

 

อุณหภูมิในตู้อบเด็กสำหรับทารกขนาดต่างๆ

อายุหลังเกิด

 

1 วัน

2 วัน

3 วัน

5 วัน

7 วัน

2 สัปดาห์

4 สัปดาห์

6 สัปดาห์

น้ำหนักตัวแรกเกิด

 

 

ต่ำกว่า 1,500 กรัม

1,500 –2,000 กรัม

เกิน 2,000 กรัม

34.4 องศา

33.7 องศา

33.5 องศา

33.5 องศา

33.5 องศา

33.4 องศา

32.9 องศา

31.8 องศา

 

 

 

 

 

การติดตั้งตู้อบ

  • อุณหภูมิในห้องควรมีอุณหภูมิสูงกว่า 23 องศา เพื่อลดการสูญเสียความร้อนจากตู้อบเด็ก
  • ไม่ควรตั้งอยู่ในที่แสงแดดส่องถึง หรือตั้งใกล้กับหน้าต่างที่มีอากาศเย็นควรตั้งให้ห่างอย่างน้อย 150 เซนติเมตร

ปลั๊กไฟและสายดิน

  • ควรให้เต้าเสียบอยู่ใกล้ตู้อบเพื่อป้องกันการสะดุดสายไฟ
  • ควรใช้ปลั๊กไฟให้ถูกต้องตามกระแสไฟฟ้าของแต่ละโรงพยาบาล (20 หรือ 110 V)
  • เต้าเสียบควรมีสายดิน
  • ถ้าเต้าเสียบไม่มีสายดินให้จัดการต่อ
  • ต่อสายดินกับเครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้าให้แน่น
  •  

วิธีใช้

การใช้โดยวิธี Manual Control

                ผู้ใช้ควรทำความคุ้นเคยกับการตรวจ “อุณหภูมิ”และวิธีใช้อื่นๆ ก่อนที่จะนำเด็กเข้าตู้อบเพื่อให้แน่ใจว่าตู้อบทำงานอย่างถูกต้อง อุณหภูมิภายในตู้อบควรตั้งตามคำสั่งของแพทย์

การเตรียม

  • ติดผ้าคลุมหน้าต่างเข้ากับหน้าต่าง iris
  • ตั้ง Humidification control  sliding plate ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำสุด

ไฟฟ้า

  • ตรวจให้แน่ใจว่าสายและข้อต่อของ sensor ต่อให้แน่นกับที่ต่อที่อยู่ด้านข้างของตู้ เสียบสายไฟเข้ากับเต้าเสียบ
  • เปิดสวิตซ์โดยกด ON Internal program และหน้าปัดแสดงจะถูกตรวจสอบโดยอัตโนมัติ ON อยู่ตรง I และ OFF อยู่ตรง 0

Memory Function

                ถ้าไฟฟ้าดับเนื่องจากไฟฟ้าเสีย หรือถอดปลั๊กไฟออก ค่าที่แสดงออกมาของอุณหภูมิจะถูกเก็บไว้ใน memory ดังนั้นไม่จำเป็นต้อง reset ใหม่เมื่อไฟฟ้าติด ซึ่งค่าต่างๆ ที่ตั้งไว้ก็จะปรากฏออกมาบนจอ

 

การแสดงและการตั้งอุณหภูมิของตู้อบ

  • เมื่อ Self Diagrosis  สิ้นสุดลง ช่องแสดง AIR จะมีแสง และทั้งอุณหภูมิของตู้อบและอุณหภูมิที่ตั้งจะปรากฏบนจอ
    • อุณหภูมิของตู้อบแสดงค่าให้เห็นระหว่าง 20 องศา ถึง 42 องศา จังหวะละ 0.1 องศา LO จะปรากฏขึ้นถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 42 องศา
    • การตั้งอุณหภูมิจะแสดงค่าให้เห็นระหว่าง 25องศา –38 องศา จังหวะละ 0.1 องศา

 

  • ตั้งหรือเปลี่ยนอุณหภูมิของตู้อบเด็ก กดสวิทซ์ set นาน 3 นาที เมื่อช่อง AIR มีแสงวาบขึ้นให้กดขึ้น หรือ ลง ของ SET TEMP ตามต้องการการตั้งอุณหภูมิสามารถเปลี่ยนได้ขณะที่ช่อง AIR มีแสงวาบ และเมื่อการตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วแสงวาบจะหยุดแต่จะมีแสงสว่างปรากฏขึ้นแทน
  • คอยประมาณ 50-60 นาที จนกระทั่งอุณหภูมิของตู้อบคงที่ เมื่ออุณหภูมิของตู้อบคงที่ตรงกับอุณหภูมิที่ตั้งไว้ และ heater Indicator อ่านค่าได้คงที่ระหว่าง 0 และ ½แสดงว่าตู้อบอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้

 

Heater output indicator

                Heater indicator เป็นตัวชี้การให้ความร้อนตามที่ต้องการเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิภายในตู้ให้คงที่ตามผู้ใช้ต้องการ เมื่ออุณหภูมิของตู้สูงกว่าอุณหภูมิของตู้สูงกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ตัวทำความร้อนจะลดการทำความร้อนลง Heater indicator ค่อยๆ ลดลงมากขีด Full เมื่ออุณหภูมิภายในตู้ถึงระดับที่ต้องการ การอ่าน Heater จะแสดงค่าระหว่าง 0 และ ½

 

 

การนำเด็กเข้าตู้อบ

  • ค่อยๆ ดึงประตูหน้าของกระโจมลงล่างวางทารกลงกึ่งกลางของเบาะให้ศีรษะอยู่ทางซ้าย ขาอยู่ทางขวา เสร็จแล้วปิดประตูและล๊อค
  • การปิด เปิดหน้าต่างโดยใช้ข้อศอก ปลดตัวล๊อคหน้าต่างก็จะเปิดออกเอง เมื่อปิดก็ใช้วิธีดัน

 

การใช้โดยวิธี Servo Control

                ผู้ใช้ควรทำความคุ้นเคยกับการทำ temperature test และวิธีใช้ตู้อบ ฝึกการใช้ตู้อบก่อนที่จะนำเด็กเข้าตู้อบ แน่ใจว่าตู้อบทำงานได้อย่างถูกต้อง แพทย์จะเป็นผู้สั่งในการปรับอุณหภูมิภายในตู้อบ อุณหภูมิของผิวหนังวัดโดยใช้ temperature probe โดยติดไว้ที่ผิวหนังหน้าท้องของเด็ก

 

การให้ออกซิเจน

                ความเข้มข้นของออกซิเจนต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ให้สนใจเฝ้าดูระดับความชื้นในตู้อบระหว่างการให้ออกซิเจน

  • ให้ใช้เครื่องวัดการไหลของออกซิเจนเสมอ
  • เมื่อต้องการให้ตู้อบมีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำกว่า 40 % ให้เสียบป้ายสีแดงไว้บน Oxygen supply port ด้วยวิธีนี้ออกซิเจนในตู้อบถูกจำกัดความเข้มข้นสูงสุด 40 % ซึ่งส่วนเกินของก๊าชออกซิเจนจะถูกปล่อยออกไปจากตู้อบ
  • เมื่อต้องการให้ตู้อบมีความเข้มข้นของออกซิเจนมากกว่า 40 % ให้ยกแผ่นป้ายสีแดงขึ้นจาก Oxygen supply port แล้วปรับอัตราการไหลของออกซิเจนตามต้องการ ให้แขวนแผ่นป้ายสีแดงบนขอเกี่ยวที่ฝาครอบ เพื่อเตือนให้พยาบาลรู้ว่าเครื่องนี้กำลังให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูงความเข้มข้นภายในตู้อบจะคงที่ เมื่อปล่อยออกซิเจนเข้าไปประมาณ 40 นาที ให้เพิ่มอัตราการไหลของออกซิเจนเมื่อความเข้มข้นภายในตู้อบต่ำกว่าที่ต้องการในทางตรงกันข้ามให้อัตราการไหลลดลงเมื่อความเข้มข้นมากเกินไป ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนทุกๆ 10 นาที จนกระทั่งความเข้มข้นของออกซิเจนภายในตู้ถึงจุดคงที่


ผู้ประกาศ : นายศุภชัย รินทร์น้อย
ตำแหน่ง : นักวิชาการคอมพิวเตอร์
วันที่ประกาศ : 14 ตุลาคม 2561 เวลา : 21:10:59 น. เมื่อ 6 ปีที่แล้ว
ผู้ชม 3773 ครั้ง
ดาวน์โหลด 71 ครั้ง

ดาวน์โหลด